กฎหมายควรรู้ก่อนขายกัญชา

ข้อบังคับเกี่ยวกับการขายกัญชา

เรียกได้ว่า หลังจากช่วงที่มีการประกาศให้ “กัญชา” เป็นพืชถูกกฎหมาย ร้านอาหาร ร้านเครื่องดื่มหลายๆ ร้าน ก็มีการน เอา “กัญชา” ไปเป็นหนึ่งในส่วนผสมต่างๆ พร้อมกับรังสรรค์ออกมาเป็นเมนูมากมายที่น่าลิ้มลอง แต่ถึงกระนั้นเจ้าตัวกัญชาเองก็ยังต้องมีการควบคุมการใช้งานอย่างถูกต้อง จึงมห้มีการออกกฎหมายควบคู่กับการปลดล็อคในครั้งนี้ บทความนี้จึงขอเป็นกระบอกเสียและเป็นแหล่งความรู้ที่จะพาท่านผู้อ่านไปดูกันว่า “กฎหมายควรรู้ก่อนขายกัญชา” มีอะไรกันบ้างครับ

ทำความรู้จักกับ “กัญชา”

กัญชา ชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า Marijuana เป็นพืชชนิดหนึ่ง ลำต้นสูงไม่เกิน 2 เมตร มีลักษณะเป็นพุ่ม ลำต้นเป็นปล้อง มีกิ่งก้านสาขาจำนวนมาก ใบสีเขียว 5-7 แฉก ออกดอกเป็นช่อเล็กๆ ตามกิ่งก้านของลำต้น โดยกัญชา มีสาร 2 ชนิด คือ

–         สาร THC (Tetrahydrocannabinol) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้มีอาการเมา เคลิ้ม แต่ในทางการแพทย์ สารนี้สามารถช่วยลดอาการปวด กระตุ้นความอยากอาหาร ช่วยรักษาผลข้างเคียงจากการทำเคมีบำบัด

–         สาร CBD (Canabidiol) พบได้น้อยในกัญชา เป็นสารที่ไม่ทำให้เมา หรือเคลิ้ม แต่มีประโยชน์ในทางการแพทย์ คือ เป็นสารช่วยลดอาการปวด บรรเทาอาการนอนไม่หลับ แก้โรคลมชัก นอกกจากนั้น ยังเป็นสารที่นิยมนำมาเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางค์ และสกินแคร์

ประโยชน์ของกัญชา

สามารถยกตัวอย่างจากงานวิจัยเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

1. ใช้รักษาภาวะเบื่ออาหาร กัญชาใช้เป็นสารกระตุ้นความอยากอาหาร จะช่วยชะลอน้ำหนักลดในผู้ป่วยมะเร็ง

2. ใช้การป้องกันการคลื่นไส้ อาเจียน ในผู้ป่วยที่รับเคมีบำบัด

3. ใช้รักษาโรคลมชักที่รักษายากและโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษาภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง ในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

โทษของการใช้กัญชาโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

สามารถกล่าวได้เป็นข้อๆ ได้ดังนี้

มีผลต่ออาการทางระบบประสาท: สับสน ซึม เวียนศีรษะ เดินเซ เห็นภาพหลอน ชัก กล้ามเนื้อเกร็งกระตุก

มีผลต่ออาการทางระบบหัวใจ: ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตสูง หน้ามืด/วูบ แน่นหน้าอก หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

มีผลต่ออาการทางระบบทางเดินอาหาร: คลื่นไส้ ปวดท้อง อาเจียน

กฎหมายเกี่ยวกับกัญชาที่ควรรู้

อย.ระบุ ประชาชนสามารถ ซื้อ-ขายกัญชา ไว้ดังต่อไปนี้

–         สามารถครอบครองกัญชาได้ ช่อดอก ใบ กิ่ง ก้าน ราก ลำต้น ครอบครองสารสกัดที่มีปริมาณ THC ไม่เกิน 0.2%

–         สามารถขายกัญชาได้ ส่วนของพืช เช่น ใบ ดอก ลำต้นและขายแบบสารสกัดที่มี THC ไม่เกิน 0.2%

–         ห้ามขายให้ผู้อายุต่ำกว่า 20 ปี สตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร

–         การขายเมล็ดพันธุ์ กิ่งพันธุ์ และต้นกล้า ตาม พ.ร.บ.พันธุ์พืช พ.ศ.2518 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

–         การซื้อขายสารสกัดที่มีสาร THC เกินกว่า 0.2% ต้องมีใบอนุญาตยาเสพติดให้โทษทั้งผู้ซื้อ และผู้ขาย

–         การผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอาง ผลติภัณฑ์สมุนไพร ยาจากกัญชา กัญชง ต้องปฏิบัติตามกฏหมายที่เกี่ยวข้อง

ข้อควรระวังสำหรับการใช้กัญชา

●”เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร ไม่ควรรับประทาน”

●”หากมีอาการผิดปกติ ควรหยุดรับประทานทันที”

●”ผู้ที่แพ้หรือไวต่อสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) หรือสารแคนนาบิไดออล (Cannabidiol, CBD) ควรระวังในการรับประทาน”

●”อาจทำให้ง่วงซึมได้ ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล”

ตัวอย่างการใช้กัญชาทางการแพทย์

กัญชามีสารสำคัญหลากหลายชนิด เช่น แคนนาบินอยด์ นำมาใช้ในการรักษาหรือบรรเทาอาการปวดของโรค คำแนะนำในการใช้กัญชามาใช้ในทางการแพทย์ ปี 2564 โดยกรมการแพทย์ ระบุว่า กัญชารักษา 6 โรค/ภาวะ ได้แก่…

1.ภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัด

2.โรคลมชักที่รักษายาก

3.ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

4.ภาวะปวดประสาท

5.ภาวะเบื่ออาหารในผู้ป่วย AIDS ที่มีน้ำหนักตัวน้อย

6.เพิ่มคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยระยะสุดท้าย

และนี้คือข้อมูลเกี่ยวกับ “กฎหมายควรรู้ก่อนขายกัญชา” ที่เราได้รวบรวมมาฝากท่านผูอ่านกันในบทความนร้ครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยกันนะครับ